ธรรมศาสตร์จับมือสภาอุตสาหกรรมฯ สร้างนวัตกรรม-คนรุ่นใหม่รองรับ EEC
อธิการบดีมธ. ลงนาม MOU ร่วมกับประธาน สอท. ขับเคลื่อนนวัตกรรม งานวิจัยและบุคลากร สอดคล้องกับการเติบโตของภาคธุรกิจ พร้อมยกระดับ ธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา มุ่งสู่บทบาทสำคัญสนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมใน EEC
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) สร้างความร่วมมือ4 ด้าน ได้แก่ การทำวิจัยและการพัฒนา, การฝึกอบรมบุคลากรและนักศึกษา, การผลักดันผลงานด้านวิชาการที่สำเร็จออกสู่สังคมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้ง การสนับสนุนและพัฒนาโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยพิธีลงนามจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำที่มีเป้าหมายสร้าง “ผู้นำรุ่นใหม่” มั่นใจว่า MOU ความร่วมมือกับสอท.ครั้งนี้ เป็นมิติใหม่ในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ อีกทั้งช่วยยกระดับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ควบคู่กับการผลักดันให้ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา” ยกระดับเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสนับสนุนโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในอนาคต
“การลงนามMOU ถือเป็นการตอกย้ำเป้าหมายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มุ่งปลูกฝังนักศึกษาให้มีจิตวิญญาณและทักษะความเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในอนาคต โดยผ่านความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรที่หลากหลาย งานวิจัยและนวัตกรรมก้าวล้ำหน้า”
รศ.เกศินี กล่าวอีกว่าในส่วนของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยานับว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางวิจัยพัฒนารองรับการเติบโตของ EEC ในอนาคต ระบบการเรียนการสอนปัจจุบันยังสอดรับกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ ซอฟแวร์ ประกอบกับพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 565 ไร่ สามารถขยายการผลิตบุคลากรสาขาวิชาที่ขาดแคลนจึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะมีความมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสอท.ในอนาคต เพื่อผลิตบุคลากรให้สอดรับกับความต้องการของตลาด พร้อมกับยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
ทั้งนี้อนาคตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสอท. จะร่วมมือกันสร้างหลักสูตรและเชื่อมโยงการเรียนการสอนระหว่างกัน โดยใช้ศูนย์พัทยาเป็นฐาน รวมถึงการเปิดให้สถานประกอบการเป็นสถานที่ฝึกงาน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ซึ่งปัจจุบันบางคณะของมหาวิทยาลัยก็ได้เชื่อมโยงกับบริษัทชั้นนำอยู่แล้วในการให้เป็นสถานที่ฝึกงาน ซึ่งทั้งนักศึกษาและผู้ประกอบการต่างพอใจ เพราะช่วยยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน และนักศึกษาบางคนก็ทำงานต่อในสถานประกอบการนั้นหลังเรียนจบด้วย
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดว่าศูนย์พัทยาควรต้องเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสุขภาพพลานามัยผู้สูงอายุด้วย ซึ่งพื้นที่มีมากพอที่จะทำได้ ในอนาคตมีโครงการสร้างโรงพยาบาลที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรม เพื่อให้บริการกับผู้บริหารรวมถึงพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
“หลังจากนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสอท.จะร่วมกันพัฒนาความฝัน ความหวัง และความต้องการในการพัฒนาประเทศ สนับสนุนให้อุตสาหกรรมมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ขณะเดียวกันผู้คนก็ได้รับการดูแลที่เท่าเทียม และมีคุณภาพ”
ด้านนายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า สอท.มีความยินดีที่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมและสนับสนุนระบบศึกษาไม่ว่าจะเป็นด้านงานวิจัย ฝึกอบรม หรือการพัฒนาบัณฑิตที่เชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันสอท.มีสมาชิกทั้งหมด 45 สาขา โดย MOU ฉบับนี้จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงผลิตบุคลากรที่ตรงกับความต้องการได้มากยิ่งขึ้น
“ปัจจุบันเราขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อทิศทางการเติบโตของประเทศ โดยเฉพาะโครงการ EEC ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ดังนั้นความร่วมมือครั้งนี้ นอกจากแก้ปัญหาบุคลากรขาดแคลนแล้ว ยังสนับสนุนนักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน ได้ประสบการณ์จริง มีความเชี่ยวชาญ มีคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมในอนาคต”
นายสุพันธ์ กล่าวต่อว่า ความมือในครั้งนี้เป็นการตอบโจทย์ภาคเอกชนอย่างแท้จริง เพราะเอกชนต้องแข่งขัน และยังต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยนี้สร้างทั้งปัญหาและโอกาสไปพร้อมกัน ดังนั้นจึงมั่นใจว่าการจับมือกันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะเป็นโอกาสทำให้อุตสาหกรรมของไทยเข้มแข็ง
โดยปัจจุบันรัฐบาลเองก็สนับสนุนโครงการ EEC อย่างเต็มที่ ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็มีพื้นที่ และองคาพยพที่จะมาช่วยขับเคลื่อนได้ ซึ่งสอท. มี 15 กลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงชิ้นส่วนยานยนต์ 12คลัสเตอร์ และ 9สถาบันที่จะขับเคลื่อนไปด้วยกันในพื้นที่นี้ ทั้งยังมีสภาอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด รวมถึงในพื้นที่ EEC จึงนับเป็นโอกาสดีที่จะร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วน ทั้งเอกชน รัฐ และสถาบันการศึกษาในการขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกัน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) สร้างความร่วมมือ4 ด้าน ได้แก่ การทำวิจัยและการพัฒนา, การฝึกอบรมบุคลากรและนักศึกษา, การผลักดันผลงานด้านวิชาการที่สำเร็จออกสู่สังคมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้ง การสนับสนุนและพัฒนาโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยพิธีลงนามจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำที่มีเป้าหมายสร้าง “ผู้นำรุ่นใหม่” มั่นใจว่า MOU ความร่วมมือกับสอท.ครั้งนี้ เป็นมิติใหม่ในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ อีกทั้งช่วยยกระดับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ควบคู่กับการผลักดันให้ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา” ยกระดับเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสนับสนุนโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในอนาคต
“การลงนามMOU ถือเป็นการตอกย้ำเป้าหมายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มุ่งปลูกฝังนักศึกษาให้มีจิตวิญญาณและทักษะความเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในอนาคต โดยผ่านความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรที่หลากหลาย งานวิจัยและนวัตกรรมก้าวล้ำหน้า”
รศ.เกศินี กล่าวอีกว่าในส่วนของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยานับว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางวิจัยพัฒนารองรับการเติบโตของ EEC ในอนาคต ระบบการเรียนการสอนปัจจุบันยังสอดรับกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ ซอฟแวร์ ประกอบกับพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 565 ไร่ สามารถขยายการผลิตบุคลากรสาขาวิชาที่ขาดแคลนจึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะมีความมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสอท.ในอนาคต เพื่อผลิตบุคลากรให้สอดรับกับความต้องการของตลาด พร้อมกับยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
ทั้งนี้อนาคตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสอท. จะร่วมมือกันสร้างหลักสูตรและเชื่อมโยงการเรียนการสอนระหว่างกัน โดยใช้ศูนย์พัทยาเป็นฐาน รวมถึงการเปิดให้สถานประกอบการเป็นสถานที่ฝึกงาน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ซึ่งปัจจุบันบางคณะของมหาวิทยาลัยก็ได้เชื่อมโยงกับบริษัทชั้นนำอยู่แล้วในการให้เป็นสถานที่ฝึกงาน ซึ่งทั้งนักศึกษาและผู้ประกอบการต่างพอใจ เพราะช่วยยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน และนักศึกษาบางคนก็ทำงานต่อในสถานประกอบการนั้นหลังเรียนจบด้วย
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดว่าศูนย์พัทยาควรต้องเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสุขภาพพลานามัยผู้สูงอายุด้วย ซึ่งพื้นที่มีมากพอที่จะทำได้ ในอนาคตมีโครงการสร้างโรงพยาบาลที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรม เพื่อให้บริการกับผู้บริหารรวมถึงพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
“หลังจากนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสอท.จะร่วมกันพัฒนาความฝัน ความหวัง และความต้องการในการพัฒนาประเทศ สนับสนุนให้อุตสาหกรรมมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ขณะเดียวกันผู้คนก็ได้รับการดูแลที่เท่าเทียม และมีคุณภาพ”
ด้านนายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า สอท.มีความยินดีที่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมและสนับสนุนระบบศึกษาไม่ว่าจะเป็นด้านงานวิจัย ฝึกอบรม หรือการพัฒนาบัณฑิตที่เชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันสอท.มีสมาชิกทั้งหมด 45 สาขา โดย MOU ฉบับนี้จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงผลิตบุคลากรที่ตรงกับความต้องการได้มากยิ่งขึ้น
“ปัจจุบันเราขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อทิศทางการเติบโตของประเทศ โดยเฉพาะโครงการ EEC ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ดังนั้นความร่วมมือครั้งนี้ นอกจากแก้ปัญหาบุคลากรขาดแคลนแล้ว ยังสนับสนุนนักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน ได้ประสบการณ์จริง มีความเชี่ยวชาญ มีคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมในอนาคต”
นายสุพันธ์ กล่าวต่อว่า ความมือในครั้งนี้เป็นการตอบโจทย์ภาคเอกชนอย่างแท้จริง เพราะเอกชนต้องแข่งขัน และยังต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยนี้สร้างทั้งปัญหาและโอกาสไปพร้อมกัน ดังนั้นจึงมั่นใจว่าการจับมือกันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะเป็นโอกาสทำให้อุตสาหกรรมของไทยเข้มแข็ง
โดยปัจจุบันรัฐบาลเองก็สนับสนุนโครงการ EEC อย่างเต็มที่ ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็มีพื้นที่ และองคาพยพที่จะมาช่วยขับเคลื่อนได้ ซึ่งสอท. มี 15 กลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงชิ้นส่วนยานยนต์ 12คลัสเตอร์ และ 9สถาบันที่จะขับเคลื่อนไปด้วยกันในพื้นที่นี้ ทั้งยังมีสภาอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด รวมถึงในพื้นที่ EEC จึงนับเป็นโอกาสดีที่จะร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วน ทั้งเอกชน รัฐ และสถาบันการศึกษาในการขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกัน
ไม่มีความคิดเห็น