โซเด็กซ์โซ่ อมฤต ผู้นำการให้บริการด้านอุตสาหกรรมชายฝั่ง ประกาศต่อยอดธุรกิจสร้างคลังสินค้า พร้อมสนับสนุนการจ้างงานในท้องถิ่น

บริษัท โซเด็กซ์โซ่ อมฤต (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท โซเด็กซ์โซ่ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบครบวงจรจากประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศเปิดคลัง สินค้า (Warehouse) เพื่อให้บริการลูกค้าอย่าง เป็นทางการแล้วบนพื้นที่กว่า 1 ไร่ ใน จ.สงขลา โดยคลังสินค้าแห่งนี้จะช่วยเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการลูกค้าในอุตสาหกรรมชายฝั่งด้านแท่น ขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย ทั้งนี้ นอกจากจะช่วยให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และสร้างกำไร เพิ่มขึ้นแล้ว ยังสามารถสนับสนุนการจ้างงานในชุมชน และส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

คุณอาร์โนด์ เบียเลคกิ กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โซเด็กซ์โซ่ กล่าวว่า “ปัจจุบัน ลูกค้าให้ความสำคัญกับบริษัท ที่มีระบบคลังสินค้าที่มีมาตรฐานและมีการรับรองคุณภาพ ซึ่งการมีคลังสินค้าช่วยให้ เราสามารถบริการได้ครบวงจร และยังทำให้เราสามารถต่อรองราคา คัดสรรสินค้าคุณภาพจากซัพลายเออร์ เพื่อจัดเก็บสินค้าในช่วงที่มีราคาถูกเพื่อตรึงราคาในการรักษาค่าบริการ ถึงแม้ว่าราคาสินค้าเหล่านั้นจะมีราคา ที่ปรับสูงขึ้นในตลาดก็ตาม ซึ่งคลังสินค้าของโซเด็กซ์โซ่ อมฤต ที่ จ.สงขลา นี้  ไม่ได้มุ่งเน้นแค่การส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงานในท้องถิ่นอีกด้วย โดยพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีภูมิลำเนาในบริเวณชุมชนที่ใกล้เคียงก่อน เพื่อเข้าร่วมงาน ประจำในตำแหน่งต่างๆ เช่น พนักงานยกของ พนักงาน สนับสนุน ช่างซ่อม ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ พนักงานขับรถโฟล์คลิฟท์ และรถเครน เป็นต้น”

วิลเลี่ยม โวเวลล์ ผู้บริหารฝ่ายปฎิบัติการ ธุรกิจพลังงานและทรัพยกรและธุรกิจบริการอาหาร บริษัท โซเด็กซ์โซ่ อมฤต (ประเทศไทย) จำกัด “สำหรับระบบคลังสินค้าที่นอกจากจะต้องมีมาตรฐานสูงและมีการรับรองคุณภาพแล้ว การรับรองคุณภาพนั้นต้องได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหาร งานคุณภาพ หรือ ISO 9001: 2015 การรับรองมาตรฐานสากลการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร หรือ ISO 14001: 2015 และการรับรองมาตรฐานสากลระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ ISO 45001: 2018 เพราะนอกจากจะช่วยให้การบริหาร จัดการแบบเบ็ดเสร็จและมีคุณภาพแล้ว ยังเป็นการยืนยันว่ามีระบบงานที่ใส่ใจในเรื่องของธุรกิจแบบยั่งยืน (Sustainable Business Practices) ที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

สำหรับการออกแบบคลังสินค้าสำหรับการจัดเก็บวัตถุดิบและตู้คอนเทนเนอร์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้

1. พื้นที่เก็บสต็อก (ในร่ม)

●    สต็อกแห้ง: วัตถุดิบแห้งต่างๆ เช่น แป้ง น้ำตาล เกลือ ข้าวสาร ฯลฯ

●    สต็อกชิลเลอร์: วัตถุดิบที่ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์สด นม ฯลฯ

●    สต็อกฟรีซเซอร์: วัตถุดิบที่ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำมาก เช่น เนื้อสัตว์แช่แข็ง ไอศกรีม ฯลฯ

2. พื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์

●    ตู้คอนเทนเนอร์: เป็นพื้นที่จัดเก็บของที่ต้องใช้เป็นประจำทุกวัน และมีการหมุนเวียนใช้งานตลอดเวลา เช่น อุปกรณ์ต่างๆ เครื่องมือ อะไหล่ ฯลฯ

3. พื้นที่ปฏิบัติงาน

●    การตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์: พื้นที่สำหรับตรวจสอบสภาพตู้คอนเทนเนอร์ก่อนใช้งานว่าอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานหรือไม่

●    การล้างทำความสะอาด: พื้นที่สำหรับล้างทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์หลังใช้งาน

●    พื้นที่เตรียมส่ง: พื้นที่สำหรับจัดเตรียมตู้คอนเทนเนอร์ที่โหลดสินค้าเสร็จแล้ว รอการส่งไปยังท่าเรือเพื่อนำไปใช้งานที่แท่นขุดเจาะของลูกค้า

ปัจจุบัน คลังสินค้าแห่งนี้ได้เริ่มให้บริการแก่ลูกค้าในธุรกิจด้านพลังงาน แท่นขุดเจาะที่มีฐานผลิตอยู่นอกชายฝั่งเป็นหลัก และมีแผนจะขยายการบริการ ไปยังภาคธุรกิจอื่นๆ ในอนาคต เช่น เหมืองถ่านหิน เหมืองทอง เหมืองลิเธียม ในประเทศไทย”

แชร์